โซลาร์รูฟท็อป & โซลาร์ฟาร์ม

พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้น 1,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากกระทรวงพลังงานมีแผน จะส่งเสริมให้มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร โดยมีเป้าหมาย 200 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

โครงการโซลาร์รูฟท็อป บนหลังคาบ้านพักทั่วไป Solar PV Roof Top 

Solar PV Roof_top1


หลังที่ประชุมคณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้เห็นชอบว่า พลังงานแสงอาทิตย์ที่มีการปรับเป้าหมายเพิ่มขึ้น 1,000 เมกะวัตต์ เนื่องจากกระทรวงพลังงานมีแผน จะส่งเสริมให้มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคาร โดยมีเป้าหมาย 200 เมกะวัตต์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ชุมชน เป้าหมาย 800 เมกะวัตต์ grid connect/home solar power systems

ทั้งนี้ กพช. ได้เห็นชอบอัตราการรับซื้อ ไฟฟ้าในรูปแบบ Feed-in Tariff : FIT
สำหรับ โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop)
โดยมีระยะเวลาสนับสนุน 25 ปี โดยแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ
1.กลุ่มบ้านอยู่อาศัย กำลังผลิต ต่ำกว่า 10 กิโลวัตต์ อัตรา FIT หน่วยละ 6.96 บาท
2.กลุ่มอาคารธุรกิจ ขนาดเล็ก กำลังผลิต ระหว่าง 10-250 กิโลวัตต์ อัตรา FIT หน่วยละ 6.55 บาท
3.กลุ่มอาคารธุรกิจขนาดกลาง-ใหญ่ กำลังผลิต ระหว่าง 250-1,000 กิโลวัตต์ อัตรา FIT หน่วยละ 6.16 บาท

พร้อมกันนี้จะจัดให้มีปริมาณรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาในปี 2556 รวม 200 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นบ้านอยู่อาศัย 100 เมกะวัตต์
และอาคารธุรกิจขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่อีก 100 เมกะวัตต์ โดยให้มีการจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2556 พร้อมกับมอบหมายให้
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) รับไปออกระเบียบการรับซื้อไฟฟ้า รวมถึงหลักเกณฑ์และการออกประกาศเชิญชวน พร้อมกำหนดอัตราการลดหย่อนค่าเชื่อมโยงโครงข่ายและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับกลุ่มบ้านอยู่อาศัยเพื่อเป็นเกณฑ์ให้การไฟฟ้าลดหย่อน ให้กลุ่มบ้านอยู่อาศัย

ผลประโยชน์ในการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารต่างๆ
จากโครงการผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้
1) ขายไฟฟ้าคืนตามสัญญาที่ทำไว้กับการไฟฟ้าได้ 25 ปี ประหยัดค่าไฟฟ้า ลดต้นทุนการผลิต
2) ได้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี โดยเป็นการนำเงินไปลงทุน
3) ใช้ระยะเวลาคืนทุน 6-7 ปี ผลตอบแทนการลงทุนประมาณ 20-25%
4) เสริมสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร ช่วยส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้เป็นที่แพร่หลาย และช่วยเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปในตัว
5) เมื่อติดตั้งบนหลังคาจะช่วยลดความร้อนของแสงแดดบนหลังคาที่จะแผ่เข้ามาในอาคาร ทำให้ช่วยลดอุณหภูมิภายในอาคารให้ต่ำลง ประหยัดเครื่องปรับอากาศมากขึ้น                                                                                                                                                                         6) บำรุงรักษาง่าย  ไม่สร้างมลภาวะทางวิสัยทรรศน์

โครงการโซลาร์ฟาร์ม Solar Farm 

ลักษณะโครงสร้างเป็นแบบติดตั้งแผงบนพื้นดินในที่โล่งแจ้ง มีขนาดตั้งแต่ 1 MW ขึ้นไปจนถึง 100 MW แล้วแต่ขนาดความเหมาะสมของพื้นที่  ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนโครงการของโซลาร์ฟาร์มขึ้นมากมาย ทั่วทุกภาคของประเทศ เกือบ 100 โครงการ โดยเฉพาะภาคอีกสานเพราะภูมิประเทศเหมาะสมเป็นอย่างมาก แต่ละโครงการใช้เม็ดเงินจำนวนมากในการลุงทุน ดังนั้นจึงมีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่มีศักยภาพพอที่จะดำเนินโครงการได้

thailand-solar-1gw

Thailand_image_1_MW_Khon_Kaen_Province_Symbior

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *